วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ปราชญ์ชาวบ้าน


10. ปราชญ์ชาวบ้าน
          ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง บุคคลผู้ทรงภูมิปัญญาด้านหนึ่งด้านใดเป็นผู้สร้างสรรค์และสืบสานภูมิปัญญาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชนทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่สาธารณชนด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ในครั้งนี้ ขอยกตัวอย่างครูภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้ง 3 ท่านที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ สามารถถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ดี
ปราชญ์ชาวบ้านอำเภอห้วยผึ้ง



                            นายชาญยุทธ  นันแก้ว อายุ 68 (ด้านการเกษตร)
                           ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น (เพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ)

   บ้านเลขที่ 61 หมู่ 10 ต. นิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ว่าเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งด้านการเกษตร (เพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ) ที่นาของตนเองจำนวน 20 ไร่ มีทั้ง ปลานิล ปลาดุก ปลาสวาย ปลาใน ทั้งเลี้ยง ทั้งจำหน่าย พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ และลูกปลา ให้ผลผลิตสูง ใช้ต้นทุนต่ำ ใช้ภูมิปัญญาของตนเอง จนกลายเป็นต้นแบบทางความคิดของการทำเกษตร (เพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ) ให้แก่เกษตรกรทั่วไปจนประสบผลสำเร็จ และเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
          ดิฉันได้พานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หนึ่งห้องเรียนไปดูการเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ และการเลี้ยงปลาตามธรรมชาติ ตั้งแต่ผู้อำนวยการคนเก่า นายมนู ผันผ่อน ระยะทางห่างจากโรงเรียนประมาณ 3 กิโลเมตรและมีผู้สนใจมาดูงานที่ทุ่งนาของคุณตาชาญยุทธ นันแก้ว ทั้งภาครัฐและเกษตรกรจากต่างอำเภอมาศึกษาดูงานไม่เคยขาด
          โรงเรียนนิคมกุนารายณ์หมู่ 2 ได้เชิญมาเป็นวิทยากรภายนอกให้กับทางโรงเรียนในช่วงคาบชุมนุมและคาบสุดท้ายทุกวันพุธ และวันศุกร์ให้กับนักเรียน ระดับชั้น ป. 4 – 6
          เนื้อหาการถ่ายทอดความรู้
- เกษตรกรรมธรรมชาติ
- เกษตรผสมผสาน
- การนำแนวคิดเกษตรธรรมชาติไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่
- การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต โดยเน้นในเรื่องความประหยัด ละเว้นอบายมุข และการมีชีวิตที่เรียบง่าย
วิธีการถ่ายทอดความรู้
          ครูชาญยุทธ นันแก้ว ถ่ายทอดความรู้โดยวิธีการต่างๆ ดังนี้
- การบรรยาย
- การสาธิต
- การนำชม
- การฝึกปฏิบัติจริงที่สระน้ำที่แปลงนา
- การให้คำปรึกษา
ครูชาญยุทธ ใช้เวลาอย่างยาวนานในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากชีวิตจริงของตนเอง สิ่งที่เรียนรู้ได้กลายเป็นภูมิปัญญาด้านการเกษตรธรรมชาติ ที่สามารถเอาชนะปัญหาอุปสรรค ที่เผชิญมาอย่างยาวนานได้เป็นผลสำเร็จ และข้อสำคัญ ครูชาญยุทธ ได้นำภูมิปัญญาดังกล่าวสอนให้ผู้อื่นนำไปปฏิบัติจนเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
          สถานที่ติดต่อ นายชาญยุทธ นันแก้ว ด้านเกษตรกรรม (การเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ)
          61 หมู่ 10 บ้านไทรงาม ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46240
 โทรศัพท์  08-33632622


ปราชญ์ชาวบ้านตำบลไค้นุ่น

ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  นายสงกา  พิทักษ์วาปี
ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านเกษตรกรรม (เกษตรผสมผสาน)

เกิดวันที่ 2 เมษายน 2480 บ้านไค้นุ่น ตำบลไค้นุ่น ปัจจุบันอายุ 74 ปี มีบุตร 3 คน บ้านเลขที่ 1
 หมู่ที่ 8 ตำบล ไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ดิฉันได้ไปที่บ้านไค้นุ่น บ้านคุณตาอยู่ติดถนนดำ ติดกับกับอนามัยบ้านไค้นุ่น อายุมากแต่ดูไม่แก่เลย ทำเกษตรผสมผสานมา 30 ปี เป็นข้าราชการบำนาญ
บ้านดูรมย์รื่น มีต้นไม้หลากหลายชนิด ทั้งตัวบ้านและสวน รวมประมาณ 4 ไร่ ให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ เป็นหมอดิน การทำไร่สวนผสมศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร โดยเน้นการพึ่งตนเอง ไม่ใช้สารเคมี โดยใช้ที่ดินในบริเวณบ้านของตนเองเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ที่ดิฉันได้ไปพบบริเวณรอบบ้าน มีปลูกฝรั่ง ปลูกหมากเม่า มีไผ่บงหวาน กล้วยน้ำหว้า มะนาว มะเฟืองหวาน ทับทิม ฟักข้าว และผักต่างๆ ทุกชนิด มีบ่อน้ำเลี้ยงปลา และเลี้ยงกบ มีการทำปุ๋ยชีวภาพใช้เอง ไม่ใช้สารเคมีใดเลย ใช้มือกำจัดหนอนแทน พึ่งตนเองเป็นหลัก หันมาใช้แนวทางผสมผสานและเกื้อกูลกันระหว่างพืชกับสัตว์ และพืชกับพืช มีการใช้ระบบน้ำหยด ใช้แกลบกลบไผ่บ่งหวาน ให้หน่อสวย มีไผ่บงหวานมากรองลงมาเป็นกล้วยน้ำหว้า หมากเม่าและฝรั่งตามลำดับ

การฟื้นฟูและปรับปรุงดิน
เป็นการอนุรักษ์หน้าดินโดยไม่ไถ่หน้าดิน ไม่เผาทำลายวัชพืชแต่จะเอาเศษพืชและวัชพืชคลุมดินไว้
เพื่อให้เกิดความชุ่มชื้น เมื่อเศษพืชและวัชพืชย่อสลายก็จะกลับไปเป็นอาหารของพืชอีก การปราบวัชพืชและศัตรูพืชนั้นก็ไม่ต้องใช้สารเคมีแต่ใช้วิธีการทางชีวภาพแทน คือ การปลูกพืชหลายๆชนิดผสมผสานกัน พืชบางชนิดจะเป็นตัวกันแมลงมิให้มาทำลายพืชชนิดอื่นได้  เช่นปลูกต้นดาวเรืองรอบพืชผักต่างๆ เพื่อไล่แมลง
การขยายพันธุ์พืช ผัก และไม้ผล
การขยายพันธุ์ผัก เช่น ผักสวนครัวและผักที่เป็นหัวใต้ดิน ก็จะทำการเพาะเมล็ด โดยการเก็บเมล็ดจากต้นที่สมบูรณ์ ทำการเพาะเมล็ดโดยการทำนั่งร้าน ยกแปลงเพาะสูงจากพื้นดิน การแก้ปัญหาโรคเน่าคอดินก็จะใช้เปลือกไข่บุบพ่อแตกผสมกับดินตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วโรยเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการขยายลงในแปลง หมั่นดูแล รักษารดน้ำ เมื่อต้นกล้าโตพอประมาณก็แยกออกปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ สำหรับไม้ผลก็จะขยายพันธุ์โดยการเสียบยอด ติดตา และทาบกิ่ง โดยจะต้องเลี้ยงต้นพันธุ์พื้นบ้านให้เป็นต้นแม่ เมื่อโตและสมบูรณ์แล้วจึงจะนำกิ่งพันธุ์ดีมาขยายพันธุ์ต่อไป
การขยายพันธุ์สัตว์
ชาวบ้านและผู้สนใจทั่วไปจะได้รับความรู้ เทคนิควิธีในการขยายพันธุ์สัตว์เลี้ยงต่าง ๆอย่างละเอียด เช่นการขยายพันธุ์หมู พันธุ์เป็ด ไก่ พันธุ์ปลา พันธุ์กบ เป็นต้น
การใช้หลักการจุลินทรีย์ธรรมชาติ (Effective Micro-organisms:EM) มาประยุกต์ใช้กับ การบำรุงดิน ซึ่งเป็นการรวมเชื้อจุลินทรีย์ที่อากาศต้องการและไม่ต้องการเข้าไว้ด้วยกันเป็น จำนวนหลายชนิด เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในธรรมชาติและทำให้เกิดผลดีแก่ดินอย่างถาวร
การถ่ายทอดองค์ความรู้  
ครูสงกา  พิทักษ์วาปี  ถ่ายทอดความรู้โดยวิธีการต่างๆ ดังนี้
- การบรรยาย
- การสาธิต
- การนำชม
- การให้คำปรึกษา
ครูสงกา ได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตในต่างประเทศหลายประเทศ และได้นำประสบการณ์ที่ได้พบเห็นสิ่งต่างๆทั้งในและนอกประเทศมาพัฒนาเศรษฐกิจพอพียงให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ในตอนแรกให้ภรรยาทำแทนรอก่อน พอเกษียณอายุราชการแล้วก็มีเวลาทำเกษตรพอเพียงเต็มที่
ได้ใช้เวลาอย่างยาวนานในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากชีวิตจริงของตนเอง สิ่งที่เรียนรู้ได้กลายเป็นภูมิปัญญาด้านการเกษตรผสมผสาน ที่สามารถเอาชนะปัญหาอุปสรรค ที่เผชิญมาอย่างยาวนานได้เป็นผลสำเร็จ และข้อสำคัญ ครูสงกาได้นำภูมิปัญญาดังกล่าวสอนให้ผู้อื่นนำไปปฏิบัติจนเกิดประโยชน์ มีผู้เดินทางมาศึกษาดูงาน จนได้จัดตั้งเป็น ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมชมบ่อยๆ ผลผลิตที่ได้จากสวนก็เป็นที่ต้องการของตลาดและบุคคลทั่วไป เพราะไม่ใช้สารเคมี ดิฉันไปได้ชิมมะเฟืองหวาน สุกเต็มต้น มีความสุขที่ได้พบเห็น เป็นศูนย์กลางให้แก่ผู้คนและผู้สนใจเรียนรู้ทางด้านการเกษตรอยู่เสมอ
สถานที่ติดต่อ
นายสงกา  พิทักษ์วาปี  ด้านเกษตรกรรม (เกษตรผสมผสาน)
บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 8 ตำบล ไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46240





ปราชญ์ชาวบ้านตำบลหนองอีบุตร





นายประคอง  ใจศิริ  ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น
ด้านการเกษตรกรรม (เกษตรพอเพียง)

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 23,016 วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555 คอลัมน์ รอบรั้วภูธรคนท้องถิ่น ลงข่าว “คุณครูคนขยัน ประคอง ใจศิริ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนหนองอีบุตรไพรเวทย์ อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนนำครอบครัวบริหารจัดการพื้นที่บริเวณบ้าน จัดทำไร่นาสวนผสมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่เด็กนักเรียนและชุมชน ปี 2555 จนกระทั้งได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรสาขาไร่นาสวนผสมดีเด่น ของอำเภอห้วยผึ้ง อย่างไม่ยากเย็น”
        นายประคอง  ใจศิริ  อายุ 53 ปี ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนหนองอีบุตรไพรเวทย์ อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านเลขที่ 195 หมู่ 2 ตำบลหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46240 โทรศัพท์
08-68596939   มีที่สวนอยู่ 9 ไร่ ชื่อสวนศิรินันท์ จบทางด้านการเกษตรมาและมีหนังสือเกี่ยวกับการเกษตร จำนวนมาก สอนเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครูที่สอนเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้ ถือว่าเป็นครูที่เก่ง มีความสามารถ มีจิตวิทยาสูง
          เป็นญาติกันและได้ไปดูที่ไร่สวนที่บ้านหนองอีบุตรไพรเวทย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นญาติข้างฝ่ายบิดาของดิฉัน ครูประคองมีบุตรสาว 1 คนเรียนที่กรุงเทพฯ ภรรยาเป็นครูโรงเรียนเดียวกัน เริ่มทำเศรษฐกิจพอเพียง ตามในหลวงประมาณปี 2549  ไม่มีใครแนะนำ ทำด้วยตนเอง มีใจรัก ขยันมาก ได้ขุดสระน้ำขนาดใหญ่เลี้ยงปลาหลายชนิด มีที่นา 3 ไร่  ที่เด่นๆ มีการเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก และการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า มีไผ่บงหวาน เป็นร้อยต้น มีกล้วยทุกสายพันธุ์ มีผลไม้แทบทุกชนิด มีผักเกือบทุกชนิดเช่น ถั่วฝักยาว มะเขือ สลัด พริก หอม กะหล่ำปลี ทั้งที่เป็นชนิดที่เป็นหัวและเป็นดอก มีบ้านหลังเล็กๆ มีอาคารอีกหนึ่งหลังเพื่อต้อนรับแขกผู้มาศึกษาดูงาน ทั้งในเขต อำเภอ จังหวัด และต่างจังหวัด ส่วนมากผู้มาศึกษาดูงานจะมาวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และครูประคองจะถูกเชิญไปเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และครูประคองมีสื่อเป็นแผ่นพับแจกให้ด้วย และมีการทำ EMบอล แจกแก่ผู้มาศึกษาดูงาน เป็นการให้ความรู้ด้วยการอบรมเกษตรกรให้เข้าใจแนวทางใหม่ๆ ในการทำการเกษตร โดยเน้นเกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน มีการใช้จุลินทรีย์ธรรมชาติ (Effective Micro-organisms:EM) มาประยุกต์ใช้กับ การบำรุงดิน ซึ่งเป็นการรวมเชื้อจุลินทรีย์ที่อากาศต้องการและไม่ต้องการเข้าไว้ด้วยกันเป็น จำนวนหลายชนิด เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในธรรมชาติและทำให้เกิดผลดีแก่ดินอย่างถาวร เพื่อให้เกิดการพึ่งตนเอง ได้อย่างยั่งยืน เป็นการถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน สังคม ได้อย่างดี
เนื้อหาการถ่ายทอดความรู้
- เกษตรกรรมธรรมชาติ (พอเพียง)
- เกษตรผสมผสาน (พอเพียง)
- การนำแนวคิดเกษตรธรรมชาติไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่
- การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต โดยเน้นในเรื่องความประหยัด ละเว้นอบายมุข และการมีชีวิตที่เรียบง่าย เงินเดือนเหลือเก็บทุกเดือน
วิธีการถ่ายทอดความรู้
          ครูประคอง  ใจศิริ ถ่ายทอดความรู้โดยวิธีการต่างๆ ดังนี้
- การบรรยาย
- การสาธิต
- การนำชม
- การให้คำปรึกษา

สถานที่ติดต่อ
นายประคอง  ใจศิริ  อายุ 53 ปี ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนหนองอีบุตรไพรเวทย์ อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านเลขที่ 195  หมู่  2 ตำบลหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46240 โทรศัพท์ 08-68596939

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น