วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลักษณะสภาพทั่วไป อำเภอห้วยผึ้ง


ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์

ลักษณะทั่วไป




1. ประวัติความเป็นมาของอำเภอห้วยผึ้ง
ประวัติความเป็นมา
ความเดิมเล่ากันมาช้านานว่า  บริเวณหมู่บ้านห้วยผึ้ง  ตำบลนิคมห้วยผึ้ง  นับแต่ก่อนมีสภาพเป็นป่าดงดิบ อยู่ชายเขตดงแม่เผด  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เบญจพรรณ  มีน้ำไหลผ่านตลอดต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาสันกกน่อง  ภูผีโห่กุสันชัยและภูแฝก  ทำให้เกิดความชุ่มชื้นแก่พื้นที่ส่วนนี้เป็นจำนวนมาก   กล่าวกันว่ามีฝูงผึ้งมาทำรังที่ต้นไม้มากมาย ทำให้ชาวบ้านบริเวณนี้มีอาชีพตีผึ้ง  เพื่อนำน้ำผึ้งไปขายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป  แต่ปัจจุบันมีจำนวนน้อยลง  เนื่องจากบริเวณนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างอำเภอสมเด็จกับอำเภอกุฉินารายณ์ จึงทำให้เป็นที่พักของคนเดินทางไปมา ต่อมาบริเวณนี้มีความเจริญขึ้นเรื่อย ๆ  จาก 2-3 ครอบครัว ก็เป็นหลายร้อยครอบครัวในปัจจุบัน
          ปี   2502   ชาวบ้านเหล่านี้ได้ช่วยกันทำทำนบห้วยผึ้ง และอพยพมาอยู่เป็นหมู่บ้าน และได้ตั้งชื่อบ้านว่า บ้านห้วยผึ้งโดยอาศัยลำน้ำที่ไหลผ่านเป็นสัญลักษณ์
          ปี   2505  จอมพลสฤษดิ์  ธนรัชต์  หัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้มาตรวจราชการที่ตำบลนาคู  อำเภอเขาวง  ได้พิจารณาเห็นความสำคัญและความจำเป็นของราษฎรตำบลนาคู  ตำบลภูแล่นช้าง  และตำบลกุดสิม  อำเภอเขาวง  ว่าไม่มีเส้นทางคมนาคม  ไปสู่ตัวเมือง  จึงได้บัญชาให้สร้างถนนจากบ้านห้วยผึ้ง  ไปสู่บ้านนาคู ขณะเดียวกันก็ได้จัดตั้งนิคมสร้างตนเองกุฉินารายณ์ขึ้นจึงทำให้มีการสร้างทางไปสู่หมู่บ้านต่าง ๆ  ใกล้เคียง  นำความเจริญมาสู่หมู่บ้านห้วยผึ้งตามลำดับ  จากความพยายามของหมู่บ้านที่จะขอจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่บ้านห้วยผึ้ง  จนในที่สุดทางราชการก็ได้ประกาศจัดตั้ง  กิ่งอำเภอห้วยผึ้ง  เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม  2524  โดยมีเขตการปกครอง รวม  4  ตำบล  คือ
 ตำบลไค้นุ่น  ตำบลคำบง  ตำบลนิคมห้วยผึ้ง และตำบลหนองอีบุตร  ต่อมาจึงได้มีพระราชกฤษฎีกา ฉบับพิเศษ เล่ม  107  ตอน 83 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2533  ยกฐานะเป็นอำเภอห้วยผึ้ง

2. วิสัยทัศน์ของอำเภอห้วยผึ้ง
          วิสัยทัศน์อำเภอห้วยผึ้ง
         ห้วยผึ้งเมืองน่าอยู่  มีการประสานการปฏิบัติราชการแบบบูรณาการ
      ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่  ที่ดี และมีวิถีชีวิตแบบพอเพียง

3. คำขวัญของอำเภอห้วยผึ้ง
เมืองสามอ่าง              โปงลางโบราณ
ผักหวานภูสวย            ลำห้วยน้ำใส
พริกเผ็ดถึงใจ              บุญบั้งไฟตระการตา

4. ที่ตั้งและอาณาเขตของอำเภอห้วยผึ้ง
          อำเภอห้วยผึ้ง เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอำเภอ ในระดับ กลาง – เล็ก  ตั้งอยู่
ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากตัวจังหวัด  59 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 52 หมู่บ้าน ที่ว่าการอำเภอห้วยผึ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลนิคมห้วยผึ้ง ริมถนนสายห้วยผึ้ง - นาคู
                   มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอต่าง ๆ  ดังนี้
                   ทิศเหนือ                   ติดต่อกับอำเภอสมเด็จ อำเภอนาคู
                   ทิศตะวันออก              ติดต่อกับอำเภอกุฉินารายณ์
                   ทิศใต้                       ติดต่อกับอำเภอนามน  อำเภอกุฉินารายณ์
                   ทิศตะวันตก                ติดต่อกับอำเภอสมเด็จ




5. สภาพทางนิเวศวิทยาของอำเภอห้วยผึ้ง
          อำเภอห้วยผึ้ง   มีพื้นที่  256,882   ตารางกิโลเมตร หรือ 160,520 ไร่ แยกเป็น
                              พื้นที่ทำการเกษตร        86,520           ไร่
                                      -  ทำนา                   41,805           ไร่
                                      -  ทำไร่                    27,140           ไร่
                                      -  ไม้ผล,  ไม้ยืนต้น        7,089             ไร่
                                      -  ปลูกพืชผัก              2,120             ไร่
                                      -  ไม้ดอกไม้ประดับ        225              ไร่
                                      -  อื่น  ๆ                   8,141            ไร่
                               พื้นที่ป่าสงวน            83,750 ไร่
                                      -  ป่าดงห้วยฝา            78,125 ไร่
                                      -  ป่าดงแม่เผด             5,625 ไร่

6. ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอห้วยผึ้ง
เป็นที่ราบลุ่มในหุบเขา  สลับกับที่ราบสูงเนิน  บริเวณไหล่เขามีร่องน้ำ  ลำห้วย  ไหลผ่านบริเวณที่ราบลุ่มทำให้มีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร

7. ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอห้วยผึ้ง
          เฉลี่ยอุณหภูมิทั้งปี ประมาณ 32 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถแบ่งตามฤดูได้ดังนี้
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่  เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม เฉลี่ย 34 องศาเซลเซียสสูงสุดประมาณ 39 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่  เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฝนตกค่อนข้างดี เฉลี่ย 29 องศาเซลเซียส
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่  เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ต่ำสุดเฉลี่ย 10 องศาเซลเซียส

8. ลักษณะดินและคุณภาพของดินอำเภอห้วยผึ้ง
          ดินและลักษณะดิน
          1. ดินชุดโคราช
 เป็นกลุ่มดินที่เนื้อดินเป็นดินร่วน เป็นดินลึกมากๆ ระบายน้ำดี ถึงค่อนข้างดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ พบบนลานตะพักลำน้ำระดับสูง มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน และมีความลาดชัน 8 - 16 % ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 100 - 200 เมตร
ปัญหาสำคัญในดินกลุ่มนี้ ได้แก่ การสูญเสียผิวหน้าดิน โดยการกัดกร่อนพังทลาย ซึ่งพบเห็นได้โดยทั่วไป
ดินชุดนี้ พบมากคือ ตำบลคำบง หมู่ที่ 1,2,3,4.5,6,7,8,9,10,11,14 ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ ตำบลไค้นุ่น หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12 ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ ตำบลหนองอีบุตรบริเวณที่พบ คือ หมู่ที่ 3,4,5,6,7,8 ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ตำบลนิคมห้วยผึ้ง พบหมู่ที่ 6,8,13 ประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่
          2. ชุดดินร้อยเอ็ด
 พบมากรองจากดินชุดโคราช พบที่ตำบลคำบง ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ ตำบลไค้นุ่น ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ตำบลหนองอีบุตร ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ตำบลนิคมห้วยผึ้งประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ชุดดินร้อยเอ็ดนี้เป็นกลุ่มดินมีเนื้อดินเป็นดินร่วนอยู่ลึกมาก มีการระบายน้ำค่อนข้างเลว มักมีน้ำท่วมขังบนผิวดิน ในช่วงฤดูฝนเป็นระยะเวลา 1-2 เดือน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ มีสภาพเป็นลูกคลื่นลอน มีความลาดชัน 5-8 เปอร์เซ็นต์ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 100 -200 เมตร บริเวณที่พบมากที่ตำบลนิคมห้วยผึ้ง ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ตำบลคำบง 15 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ตำบลไค้นุ่น 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ตำบลหนองอีบุตร 15  เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่
สมรรถนะของดิน
 ความเหมาะสมของดินในการปลูกพืชของอำเภอห้วยผึ้ง ตามชุดดินแล้ว เราสามารถแบ่งความเหมาะสมกับการปลูกพืช คือ ข้าวและพืชไร่ เราสามารถแบ่งสมรรถนะของดินออกได้ ดังนี้
1. ข้าว ดินที่เหมาะสมในการปลูกข้าวปานกลาง ซึ่งมักจะกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในตำบลต่างๆ ตำบลคำบง หมู่ที่ 2,3,4,5,6,7,8,12,15  ตำบลไค้นุ่น  หมู่ที่ 1,2,3,4,5,8,9,11,12 ตำบลหนองอีบุตร หมู่ที่ 1,2,3,4,7,8 ดินมีความเหมาะสมน้อยในการปลูกข้าว ตำบลที่พบ คือ ตำบลคำบง หมู่ที่ 3,4,5,6,10,12 ตำบลไค้นุ่น หมู่ที่ 6,7,10,5,9 ตำบลหนองอีบุตร หมู่ที่ 5,6,7 ดินที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์หรือเหมาะในการปลูกข้าวพบที่ตำบลต่างๆ ดังนี้ ตำบลคำบง หมู่ที่ 3,4,5,6,7,10,13 14  ตำบลไค้นุ่น หมู่ที่ 6,7,10 และตำบลหนองอีบุตร หมู่ที่ 5,6,7
2. พืชไร่ สมรรถนะ ของดินในการปลูกพืช ดินที่เหมาะสมที่เกษตรกรใช้ปลูกพืชไร่นี้จะเป็นชุดดินโคราชและชุดดินน้ำพอง ซึ่งเป็นดินที่มีมากกว่าดินชุดอื่น ๆ ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทำการเกษตรจะปลูกพืชไร่ต่างๆ คือ มันสำปะหลัง ถั่วลิสง ข้าวโพด ปอ และไม้ผลต่างๆ ดินดังกล่าวมักมีปัญหาคือดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำจำเป็นต้องมีการปรับปรุงดินให้ดี
ความเหมาะสมของดิน
ความเหมาะสมของดินในการปลูกพืชต่างๆ ของดินในอำเภอห้วยผึ้ง พอจำแนกตามความเหมาะสมได้ดังนี้
-ชุดดินโคราชและชุดดินน้ำพอง เนื่องจากทั้งสองชุดนี้ จัดเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำและมีการระบายน้ำค่อนข้างดี เกษตรกรจึงใช้ในการปลูกพืชไร่และไม้ผล
-ชุดดินร้อยเอ็ด เป็นชุดดินที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลว เมื่อฝนตกชุกน้ำจะท่วมขัง ดินชุดร้อยเอ็ดนี้เหมาะสมในการทำนาปานกลาง เกษตรกรจึงใช้ในการทำนาข้าวและดินชุดนี้กระจัดกระจายอยู่ทุกตำบล

9. ลักษณะแหล่งน้ำของอำเภอห้วยผึ้ง
          แหล่งน้ำตามธรรมชาติมีอยู่  2 ประเภท คือ หนองน้ำและลำห้วย แหล่งน้ำ ที่ประชาชนใช้ในการเพาะปลูก และบริโภค ได้จากแหล่งน้ำที่สำคัญ ดังนี้
1. อ่างเก็บน้ำห้วยผึ้ง ตั้งอยู่บ้านหนองแสง หมู่ 14 ตำบลนิคมห้วยผึ้ง มีพื้นที่จุน้ำได้
เต็มที่ 5,400,000 ลูกบาศก์เมตร สภาพน้ำก็ขึ้นอยู่กับปริมาณฝนเช่นกัน ถ้ามีฝนมากจุน้ำได้เต็มที่สามารถส่งน้ำในฤดู 722 ไร่ ในฤดูแล้ง 550 ไร่ ทั้ง 2 อ่าง มีคลองชลประทานเชื่อมกัน อ่างเก็บน้ำทั้ง 2 อ่างนี้ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร ทั้งปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และการประมง ประชาชนในเขตตำบลห้วยผึ้งและเขตตำบลหนองอีบุตรและตำบลไค้นุ่นได้รับประโยชน์ บางพื้นที่


2. อ่างเก็บน้ำห้วยฝา ตั้งอยู่บ้านห้วยฝา หมู่ 13 ตำบลนิคมห้วยผึ้งมีพื้นที่เก็บ
น้ำได้เต็มที่ 6,000,000 ลูกบาศก์เมตร สภาพน้ำในอ่างถ้าปีที่มีฝนตกมากสามารถกักเก็บน้ำได้เต็มที่ ฤดูฝนสามารถเก็บน้ำได้และส่งน้ำได้ 16,377 ไร่ และฤดูแล้งสามารถส่งน้ำได้ 2,710 ไร่ แต่ถ้าปีไหนฝนน้อยในฤดูแล้งไม่สามารถส่งน้ำให้เกษตรกรได้ เนื่องจากน้ำในบริเวณอ่างน้อย
          3. อ่างเก็บน้ำห้วยสะทด   ตั้งอยู่ที่บ้านปลาขาว หมู่ 6 ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง  จังหวัดกาฬสินธุ์   อ่างเก็บน้ำห้วยสะทด  เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร    มีพื้นที่ทั้งหมด  7,843  ไร่  มีปริมาณน้ำที่ระดับกักเก็บน้ำ  11,658,000ลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่ระดับธรณีท่อที่อ่าง  500,000  ลูกบาศก์เมตร  สามารถส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรในเขตตำบลคำบงได้อย่างทั่วถึง
สภาพพื้นที่สวยงาม  อากาศบริสุทธิ์  เหมาะสำหรับการท่องเที่ยว และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี
4. ระดับน้ำใต้ดิน ที่อยู่สูงคือ ระหว่าง 3-4 เมตร ในฤดูฝน ฤดูแล้ง 6-7 เมตร
         


10. สภาพป่าไม้ของอำเภอห้วยผึ้ง
มีเทือกเขากั้นเขตพื้นอำเภอนาคู และมีหมู่บ้านตั้งอยู่เชิงเขา เช่น บ้านคำม่วง  หมู่ 5, 14  ตำบลคำบง  บ้านปลาขาว หมู่  6  ตำบลคำบง  บ้านนิคม หมู่ 3  แปลง 1  หมู่  11   ตำบลนิคมห้วยผึ้ง
          ป่าไม้ พื้นที่ป่าสงวนมี  ๒  แห่ง คือ
                             -  ป่าดงห้วยผึ้ง   พื้นที่    78,125           ไร่
                             -  ป่าดงแม่เผด   พื้นที่    5,625            ไร่

11. สาธารณูปโภคของอำเภอห้วยผึ้ง
          1. มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน ทุกครัวเรือน
          2. มีน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้านแต่ยังไม่ทั่วถึงทุกหลังคาเรือน
          3. มีโทรศัพท์ใช้ทุกหมู่บ้านแต่ยังไม่ทั่วถึงทุกหลังคาเรือน
          4. มีถนนลาดยางใช้เป็นส่วนใหญ่แต่ยังมีถนนลูกรังบางพื้นที่

12. การศึกษาของอำเภอห้วยผึ้ง
                  สถานศึกษาในอำเภอห้วยผึ้ง  มีดังต่อไปนี้
1.  โรงเรียนประถมศึกษา 18 แห่ง (เป็นโรงเรียนขยายโอกาส 5 แห่ง) ครู อาจารย์   216 คน            จำนวนนักเรียน 2,734 คน
                 1..ร.บ้านเหล่าสีแก้ว
                    2. ร.ร.หนองอีบุตรไพรเวทย์
                    3. ร.ร.บ้านคำม่วง
                    4. ร.ร.คำบงพิทยาคม
                    5. ร.ร.บ้านห้วยผึ้ง
                    6. ร.ร.บ้านหนองแสง
                    7. ร.ร.บ้านหนองมะงง
                    8. ร.ร.นิคมกุฉินารายณ์ หมู่ 6
                    9. ร.ร.คำหมุนผดุงเวทย์
                    10. ร.ร.ไค้นุ่นวิทยาพูน
                    11. ร.ร.บ้านห้วยฝา
                    12. ร.ร.บ้านผึ้ง
                    13. ร.ร.บ้านปลาขาว
                    14. ร.ร.นิคมกุฉินารายณ์ หมู่ 3
                    15. ร.ร.บ้านหนองขอนแก่น
                    16. ร.ร.ค่ายลูกเสือ จ.กาฬสินธุ์
                    17.ร.ร.อุปรีศรีวิทยา
                    18. ร.ร.นิคมกุฉินารายณ์ หมู่ 2
 2. โรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง   ครู อาจารย์ 72 คน นักเรียน จำนวน 1,138   คน
          1. โรงเรียนห้วยผึ้งพิทยา
          2. โรงเรียนนิคมหนองแก้วญาณเวที
          3. วิทยาลัยการอาชีพ 1 แห่ง   ครู อาจารย์ 74 คน นักเรียน จำนวน   840   คน
                    วิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง
          4.  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน (ทุกกิจกรรม)  15   กลุ่ม   ครู อาจารย์ 15   คน
 จำนวนนักศึกษา   1,037   คน
5. โรงเรียนอนุบาลเอกชน 2 แห่ง
                   1. ร.ร.อนุบาลสรรพเลิศ
          2. ร.ร.อนุบาลเปรมจิต
6. ศูนย์เด็กเล็ก เทศบาลตำบลห้วยผึ้ง

13. การสาธารณสุขของอำเภอห้วยผึ้ง
          1.  สถานีอนามัย                                       5        แห่ง
          2.  โรงพยาบาล (ขนาด 30 เตียง)                      1       แห่ง
          3.  แพทย์                                               3        คน
          4.  พยาบาล                                            32      คน
          5.  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข                               23      คน
อำเภอห้วยผึ้ง  มีกลุ่มพลังมวลชน  แนวร่วมในการช่วยเหลือทางราชการ  ดังนี้
          1.  อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน                123     คน
          2.  ไทยอาสาป้องกันชาติ                              200     คน
          3.  ลูกเสือชาวบ้าน                                   1,950   คน
          4.  กนช.                                                400     คน

14. ศาสนาและประเพณีของอำเภอห้วยผึ้ง
                1. ศาสนาสถาน   จำนวน 44 แห่ง แยกรายละเอียด ดังนี้
                              วัด จำนวน 15 แห่ง
                                      -  วัดมีวิสุงคามสีมา 9 วัด
                                      -  วัดไม่มีวิสุงคามสีมา 6 วัด 
                   2.  ที่พักสงฆ์   30 แห่ง
                                       -  (ยังไม่ขอสร้าง/ตั้งวัด)
                   3.  จำนวนพระ
                                      -  มหานิกาย        110  รูป
                                      -  ธรรมยุติ  ( 4 วัด) 15 รูป
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ (ครอง 14)
          คำว่า “ฮีต” เป็นภาษานิยมในภาคอีสาน เป็นคำย่อจาก จารีต และออกเสียง ร เป็น ฮ ตามลักษณะ
การออกเสียงของชาวอีสาน หมายถึงจารีตประเพณี ระเบียบแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ควร
ประพฤติปฏิบัติให้ครบ 12 ในปีหนึ่ง ๆ คือ
          1. เดือนอ้าย ( เดือน 1) บุญข้าวกรรม
          2.  เดือนยี่ ( เดือน 2 ) บุญคูณลาน
          3.  เดือนสาม  บุญข้าวจี่ ( ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
 4.  เดือน  4   บุญพระเวส  ( พระเหวด )
          5.  เดือน  5  บุญสงกรานต์
          6.  เดือน 6  บุญบั้งไป ( บ้องไฟ )
7. เดือน 7  บุญชำฮะ ( บุญเซ่นสรวงหลักบ้าน )
          8.  เดือน 8  บุญเข้าพรรษา
          9. เดือน 9  บุญข้าวประดับดิน ( ห่อข้าวน้อย )
          10.  เดือน 10  บุญข้าวสาก ( ข้าวสารท)
          11.  เดือน 11  บุญออกพรรษา   
          12.  เดือน 12  บุญกฐิน
          ครอง 14   (ครองประเพณี 14)
คลอง 14 เป็นคำและข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง คอง แปลว่า แนวทาง หรือ ครรลอง ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี หรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติสิบสี่ข้อ ดังนั้นคองสิบสี่จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง พระสงฆ์ และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติสิบสี่ข้อ อาจสรุปได้หลายมุมมองดังนี้

          ครองที่ 1 เมื่อถึงเดือน 5 เทศกาลวันปีใหม่ของไทยให้กลุ่มประชาชนชาวบ้านไปทำสาบตนให้สัจยานุสัตย์แก่กันและกัน ทั้ง พ่อบ้าน แม่บ้าน สามี ภริยา พี่ๆ น้องๆ วงศาคณาญาติ มิตรสหาย บ้านใกล้เรือนเคียงกันและกันว่าจะซื่อสัตย์ต่อกันและกัน
          ครองที่ 2 เมื่อถึงเวลาเดือน 6 ให้ชวนกันขนดินขนทรายเข้าวัดแล้วร่วมกันก่อเจดีย์ทรายขึ้นภายในวัด เป็นบุญกุศลแก่ตน
ครองที่ 3 เมื่อถึงเดือน 7 ฤดูจะลงทำไรไถ่นา ลงคราดและหว่าน ปักดำ ให้พากันประกอบพิธีเลี้ยงตาแฮด (เจ้าปู่สูอภิบาลชาวไร่นา) ตามประเพณีนิยมเพื่อให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล
ครองที่ 4 เมื่อถึงเวลาอันควร ให้พากันทำบุญปุพพเปตพลี ตามคตินิยมทางพระพุทธศาสนา เพื่อแสวงหาโภคทรัพย์ได้โดยทางที่ชอบแล้ว ควรทำพลี 5 อย่าง คือ สงเคราะห์ญาติพี่น้องของตน ต้อนรับแขก ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย เรียกว่า “ปุพพเปตพลี” เสียส่วนสาอากรแก่รัฐและทำบุญอุทิศให้เทวดาในเรือน คือบิดามารดาผู้ล่วงลับไปแล้ว
ครองที่ 5 เมื่อถึงเดือน 11-12 ให้ชักชวนกันทำบุญกฐินถวายผ้าแด่พระภิกษุ เป็นการทานตามวินัยบัญญัติในพระพุทธศาสนา
ครองที่ 6 เดือน 12 ให้ผู้เฒ่าผู้แก่ ในแต่ละหมู่บ้านชักชวนลูกหลานทำบุญมหาชาติ ฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดกทุกปีทางอีสานเรียก “เอาบุญพระเวส”
ครองที่ 7 สำหรับผู้รับอยู่ในฐานะเป็นลูกหญิงลูกชายในแต่ละตระกูลให้รู้จักปฏิบัติอุปัฎฐากเลี้ยงดูพ่อแม่ตอบแทนบุญคุณของท่าน
ครองที่ 8 สำหรับผู้เป็นพ่อแม่ให้รุ้จักจัดแจงปฏิบัติเรือนชานให้ลูกหญิงลูกชายตน ตามสมควรแก่ฐานะ (การจัดให้แต่งงานมีครอบครัว) ตามวัฒนธรรมประเพณี
ครองที่ 9 ถ้าเป็นเขยท่าน ให้รู้จักเจียมตัว อย่ากล่าวดูถูกลูกเมีย อย่าตีลูก อย่าตีวัวควาย เสียดสีพ่อตาแม่ยายของตน
ครองที่ 10 ให้รู้จักทำบุญทำทาน อุปการะเกื้อกูลผู้ทรงศีล อย่าได้ประมาท อย่าได้บังอาจพูดกล่าวมุสา
          ครองที่ 11 เป็นพ่อแม่บ้าน ให้มีพรหมวิหาร มีชีวิตอยู่เหมือนพระพรหม เมตตา กรุณา มุทิตา
อุเบกขา ในลูกในคนในครัวเรือน และคนในหมู่บ้านทั่วไป ตามเหตุปัจจัยอันควร
ครองที่ 12 เป็นพระราชามหากษัตริย์ ให้รักษาทศพิธราชธรรม 10 ประการ
ครองที่ 13 เป็นพ่อคนแม่คน ถ้าได้ลูกเขยและสะใภ้เข้ามาอยู่ในบ้านเรือน ให้รู้จักสำรวมวาจา พูดจา
ปราศรัยกับบุตรเขยและสะใภ้ของตนด้วยปิยวาจา อย่าได้กล่าวอัปปีวาจาแก่เขา ถ้าระรานไปถึงโคตรตระกูลเขาถือว่าผิดธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
ครองที่ 14 เมื่อถึงฤดูทำนาเก็บเกี่ยวข้าว เสร็จแล้วนำมากองไว้ในลานก่อนทำการนวดข้าวหรือฟาด
ข้าว ให้ชาวนาทำพิธีปรงข้าวหมกไขทำตาเหลวปักบูชาแล้วจึงดำเนินการ
         
15. เศรษฐกิจของอำเภอห้วยผึ้ง

ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ประกอบด้วยพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ดังนี้
1. ข้าว
-  ปลูกข้าวเหนียว  34,937 ไร่   ผลผลิตเฉลี่ย 550 กก./ ไร่
-  ปลูกข้าวจ้าว  6,868 ไร่       ผลผลิตเฉลี่ย 450 กก./ ไร่
                   พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูก           -  ข้าวเหนียว  พันธุ์  กข. 6
                                                -  ข้าวจ้าว  ข้าวหอมมะลิ
                   2.  มันสำปะหลัง พื้นที่เพาะปลูก   6,930 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3 ตัน/ไร่
                             -  พันธุ์ที่ใช้ปลูก ระยอง  90 เกษตรศาสตร์ 50 ห้วยบง
                   3.  อ้อยโรงงาน พื้นที่เพาะปลูก   5,080 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 10 ตัน/ไร่
                   4.  พืชฤดูแล้ง พื้นที่อำเภอห้วยผึ้งมีสภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนทราย หน้าดินลึก มีความอุดมสมบูรณ์ค้อนข้างสูง และมีระดับน้ำใต้ดินตื้นประมาณ 9 - 13 เมตร และสามารถสูบน้ำจากบ่อตอกขึ้นมาใช้ในการเกษตร ได้เป็นอย่างดี พืชฤดูแล้งที่สำคัญ ได้แก่
                     1.  พริกขี้หนู                    45      ไร่                                                                                          
                     2.  ข้าวโพดฝักสด              235     ไร่    
                     3.  ถั่วลิสง                       65      ไร่
                     4.  ยาสูบเตอร์กีส              120     ไร่
                     5.  ผักสด                       280     ไร่
                      6.  ข้าวโพดหวานโรงงาน    1,400    ไร่
                   5.  ข้อมูลกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประจำปี 2554 จำนวน 39 กลุ่ม    
                   6. มีโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ 2 แห่ง คือ
1. โรงแป้งมันสมเด็จ ที่ตั้งบ้านหนองมะงง ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง
                             2. โรงแป้งมันกาฬสินธุ์ ที่ตั้งบ้านคำบง ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง
รายได้เฉลี่ยของราษฎรอำเภอห้วยผึ้ง  52,836.22 บาท/คน/ปี จำแนกตามลำดับจากน้อยไปหามาก    ดังนี้ (ข้อมูลจาก จปฐ.ปี 2554 )

ลำดับของอำเภอ
ตำบล
รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี (บาท)
1
2
3
4
5
คำบง
นิคมห้วยผึ้ง
ไค้นุ่น
เทศบาลตำบลห้วยผึ้ง
หนองอีบุตร
43,894.36
52,130.03
56,887.55
60,054.45
63,810.10

เฉลี่ยรายได้ต่อคนต่อปีของคนในพื้นที่
47,721.50


16. การเมืองการปกครองของอำเภอห้วยผึ้ง
          การปกครอง
อำเภอห้วยผึ้งมีเขตการปกครอง   4 ตำบล   52 หมู่บ้าน ดังนี้
1.  ตำบลไค้นุ่น            มี        13      หมู่บ้าน
2.  ตำบลคำบง            มี        15      หมู่บ้าน
3.  ตำบลนิคมห้วยผึ้ง      มี        16      หมู่บ้าน
4.  ตำบลหนองอีบุตร     มี        8        หมู่บ้าน
          รวม     กำนัน             4        คน
                   ผู้ใหญ่บ้าน        48      คน
                   ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 136     คน
                   สารวัตรกำนัน    8       คน
                   แพทย์ประจำตำบล   4  คน 

การบริหารราชการแผ่นดิน  อำเภอห้วยผึ้งแบ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เป็น  3 ส่วน คือ
1. ราชการบริหารส่วนกลาง มี    หน่วยงานได้แก่
-  สถานีถ่ายทอดโทรคมนาคม ภูแฝก
-  หน่วยประสานงานป้องกัน
 -  ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่  2 กรมชลประทาน
 -  นิคมสร้างตนเองกุฉินารายณ์
-   สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์สาขาห้วยผึ้ง
-   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์  เขต  3
2. ราชการบริหารส่วนภูมิภาคมี 6 หน่วยงาน ได้แก่
- ที่ทำการปกครองอำเภอ
-  สำนักงานสัสดีอำเภอ
-  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ
-  สำนักงานที่ดินอำเภอ
-  สำนักงานเกษตรอำเภอ
-  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
          3.  ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มี 5 หน่วยงาน ได้แก่
-  เทศบาลตำบลห้วยผึ้ง
-  เทศบาลตำบลคำบง
-  เทศบาลตำบลไค้นุ่น
-  องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมห้วยผึ้ง
-  เทศบาลตำบลหนองอีบุตร      
17. บุคคลสำคัญของอำเภอห้วยผึ้ง
ชื่อผู้ดำรงตำแหน่ง
ส่วนราชการ
นายสมเกียรติ  ดวงมณี
นายนิจ  ไพรสณฑ์
พ.ต.อ.ชุมพล  ปิยวนิชพงษ์
นางพรนภัส  วิชัยธรรม
นายวีรวัฒน์    นันทบุรมย์  
พ.ต.ทองรัตน์  เศษนาเวช
ที่ทำการปกครองอำเภอห้วยผึ้ง
หน.ฝ่ายบริหารงานปกครอง
สภ.ห้วยผึ้ง
สนง.ที่ดินอำเภอห้วยผึ้ง
สนง.พัฒนาชุมชนอำเภอห้วยผึ้ง
สัสดีอำเภอห้วยผึ้ง
สนง.สรรพากรเขตพื้นที่สาขา อ.ห้วยผึ้ง
สนง.เกษตรอำเภอห้วยผึ้ง
วัฒนธรรมอำเภอห้วยผึ้ง
ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองฯ
สนง.สาธารณสุขอำเภอห้วยผึ้ง
หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่  2
ผอ. โรงพยาบาลห้วยผึ้ง
ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา กส.เขต  3
ไปรษณีย์ห้วยผึ้ง
หัวหน้าหน่วยบริการไฟฟ้า
หัวหน้าหน่วย  ธ.ก.ส. ห้วยผึ้ง
ผอ.กศน.อ.ห้วยผึ้ง
ปศุสัตว์อำเภอ
หมวดการทางห้วยผึ้ง
วิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง
ฝ่ายกีฬาและนันทนาการอำเภอ
ประมงอำเภอห้วยผึ้ง
ผู้อำนวยการศูนย์บำรุงทางหลวงชนบทห้วยผึ้ง
ส่วนท้องถิ่น
หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมฯ
เทศบาลตำบลห้วยผึ้ง
อบต.นิคมห้วยผึ้ง
อบต.ไค้นุ่น
เทศบาลตำบลคำบง
เทศบาลตำบลหนองอีบุตร
นายมนตรี    มารมย์
นายโอภาส  มั่นคง
 -
นายดำริห์    บำรุง
นายครสวรรค์  พิมนิสัย
นายธวัชชัย  ศรีธเรศ
นายไพฑูรย์     อุไรชื่น
นายครรชิต  วรรณชา
นายศักดา  พยุงเกษม
นายชูเกียรติ  อินทร์เหง้า
นายสมปอง  เศษฤทธิ์
น.ส.ปาริชาติ   ไชยสถิตย์ 
นายอมเรศ  วราเอกศิริ
นายรณชัย  นางาม
นายอุดม  ประชานันท์
นายดำรงค์  สุริวงศ์ษา
นายนิวัตน์  โคตรบรรเทา
นายฉัตรชัย  นาชัยเพิ่ม

นางกาญจนา   ชัยศรีหา
นายสมเดช  กาญบุตร
นางจิดาภา  ลาวัลย์
นายพนม     ประชาชัย

นายบุญ        จับอันชอบ


ชื่อผู้ดำรงตำแหน่ง
ส่วนราชการ
นายสมเกียรติ  ดวงมณี
นายชนิพนธ์  สงวนสัตย์
นายจรัญ   จุนัน
 นายปรัชญา  พลโกษฐ์
น.ส.วาริดา  พันธุ์สะอาด
นางญาตินันท์  นุพานิชย์
นางณภัทร   เรืองอุไร

ที่ทำการปกครองอำเภอห้วยผึ้ง
ปลัดอำเภอ หน.ฝ่ายบริหารงานปกครอง
ปลัดอำเภอ หน.ฝ่ายความมั่นคง
ปลัดอำเภองานป้องกัน
ปลัดอำเภองานสำนักงานอำเภอ
ปลัดอำเภอฝ่ายทะเบียนและบัตร
เสมียนตราอำเภอ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น